Home
|
Login
หน้าหลัก
>
กิจกรรม/ผลงาน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยว สุวรรณ 6481
เริ่มประกาศเมื่อ : 11-12-2567
สิ้นสุดเมื่อ : 30-12-2568
ข้าวโพดไร่ลูกผสมเดี่ยวสุวรรณ 6481
ผู้พัฒนาพันธุ์
1. รศ.ดร.ชูศักดิ์ จอมพุก
2. รศ.ดร.พีรนุช จอมพุก
3. ว่าที่ร้อยตรีโรจนพงศ์ ไชยสิทธิ์
4. นางสาววรรษมน มงคล
5. นางสาวณัฐนี จุติโรจน์ปกรณ์
6. นายประเสริฐ ถาหล้า
7. ผศ.ดร. จุฑามาศ ร่มแก้ว
8. นายชัยมงคล ตะนะสอน
ข้อมูลติดต่อ
รศ.ดร.ชูศักดิ์ จอมพุก
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน จ.นครปฐม
เบอร์โทรศัพท์ 086-9818658
แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์
ข้าวโพดไร่ลูกผสมเดี่ยวพันธุ์สุวรรณ 6481 (Suwan 6481) ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวโพดไร่
สายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ 65 (Ki 65) และสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ 67 (Ki 67) โดยสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์ทั้ง
2 พันธุ์ ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจาก การผสมพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ภายใต้โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน
ทุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง 3 โครงการ จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ประกอบด้วย
1) โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่ลูกผสมเพื่อปลูกในดินนาฤดูแล้งเขตชลประทานภาคกลาง”
งบประมาณวิจัย 3 ปี (ปี พ.ศ.2558-2560 รหัสโครงการ PRP5805010420), 2) โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนา
พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเพื่อปลูกในดินนาฤดูแล้งเขตชลประทานภาคกลาง (ระยะที่ 2)” งบประมาณวิจัย
3 ปี (ปี พ.ศ. 2562 – 2564 รหัสโครงการ PRP6205031440) และ 3) โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลผลิต
และเสถียรภาพผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวดีเด่นเพื่อปลูกในฤดูฝนและฤดูแล้งเขตภาคกลาง”
(ปี พ.ศ. 2566 รหัสโครงการ PRP6605030420) โดยพันธุ์สุวรรณ 6481 ที่เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้
Ki 65 x Ki 67 ได้ปลูกทดสอบผลผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปี พ.ศ. 2566 เพื่อปลูกเป็นข้าวโพดไร่ทดแทน
การปลูกข้าวนาปรังพื้นที่ภาคกลางเขตชลประทาน พันธุ์สุวรรณ 6481 มีศักยภาพการให้ผลผลิตดี
ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์
- ชนิด/ประเภท ชื่อไทย ข้าวโพด ชื่อวิทยาศาสตร์ Zea mays L. วงศ์ Poaceae
- ราก ระบบรากฝอย (fibrous root system) รากค้ำจุนสีเขียวปนม่วง
- ลำต้น ลำต้นตั้งตรง ความสูงต้นเฉลี่ย 250 เซนติเมตร
- ใบ ใบเดี่ยวมีลักษณะยาวรี ตั้งตรง (erect) ใบรองฝักบนสุดมีขนาดใหญ่ ความกว้างใบ เฉลี่ย
11.7 เซนติเมตร และความยาวใบเฉลี่ย 102.6 เซนติเมตร
- ดอก/ช่อดอก ลักษณะช่อดอกตัวผู้ค่อนข้างตรง การชูช่อของดอกตัวผู้ดี ขนาดช่อดอกตัวผู้ใหญ่ มีจำนวน
ก้านแขนงของดอกตัวผู้ 15 แขนง อับเรณูมีสีม่วง กาบดอกย่อยมีสีเขียว glume ring สี
เขียว ความยาวของก้านช่อดอกตัวผู้ที่โผล่พ้นฐานใบธง โดยวัดจากฐานใบธงถึงปลายยอด
ของช่อดอกตัวผู้ มีความยาวเฉลี่ย 44.3 เซนติเมตร ความกว้าง 22.6 เซนติเมตร วันออก
ดอกตัวผู้ 50 เปอร์เซ็นต์ 59 วัน และมีวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ 60 วัน ไหมสีม่วง
- ผล/ฝัก ความสูงฝักโดยวัดจากพื้นดินถึงข้อฝักบนสุดมีความสูงฝักเฉลี่ย 142 เซนติเมตร ฝักมีขนาด
ใหญ่ ทรงกระบอก ความกว้างฝักเฉลี่ย 5.0 เซนติเมตร ความยาวฝักเฉลี่ย 19.5 เซนติเมตร
การจัดเรียงตัวของเมล็ดเป็นแถว จำนวนแถวต่อฝักเฉลี่ย 16 แถว อายุเก็บเกี่ยว 115-120
วัน
- เมล็ด เมล็ดสีส้มเหลืองหัวกึ่งแข็ง (OYSF) มีเปอร์เซ็นต์กะเทาะเฉลี่ย 83.8 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิต
เมลด็ เฉลี่ย 1,720 กก./ไร่ และเป็นพันธุ์ที่มีเสถียรภาพของผลผลิตดี (b=1.28ns)
ภาพกิจกรรม/ผลงาน
ข่าวคณะเกษตร กำแพงแสน
บุคคล/ผลงานสร้างชื่อเสียง
Slide Show
พัฒนาระบบโดย : น.ส.ดวงกมล ด้วงจุมพล หน่วยผลิตสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140